แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล. พี. เอ็นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) มองแนวโน้ม กำลังซื้อที่อยู่อาศัยช่วงครึ่งปีหลังของปี 2566 มีแนวโน้มชะลอตัว โดยคาดว่า ตลาดอสังหาฯ ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑลปี 2566 จะใกล้เคียงกับปี 2565 หรือเติบโตไม่เกิน 5%
บ้านมือสอง NPA แนวรถไฟฟ้าความต้องการซื้อสูงโซนปริมณฑลขยายตัว
เปิด 5 ย่านที่ดินสูงสุดใน กทม.-ราคาที่ดินเปล่าปัจจัยรุมเร้าส่งผลชะลอตัว
โดยคาดว่าจะมีจำนวนหน่วยเปิดตัวใหม่ 105,000-108,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 474,000-488,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีจำนวนการเปิดตัว 103,000 หน่วยคิดเป็นมูลค่า 457,000 ล้านบาท
โดยบ้านพรีเมี่ยม หรือ โครงการบ้านพักอาศัยระดับราคาเกิน 10 ล้านบาท มีการเปิดตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ทั้งหมด 42 โครงการ เติบโตขึ้น 68% หรือราว 2,528 หน่วย มูลค่า 59,252 ล้านบาท เป็นบ้านเดี่ยว 97%
ซึ่ง 3 บริษัทที่มีจำวนเปิดตัวมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ
1.บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
2.บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)
3.บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
โดย 3 ทำเลที่มีการเปิดตัวโครงการบ้านราคาเกิน 10 ล้านบาทสูงสุดได้แก่
- สรงประภา-ดอนเมือง
- พหลโยธิน-รังสิต
- วัชรพล โดยทำเลวัชรพล มีอัตราการขายเฉลี่ยสูงสุดที่ 19%
และยังเป็นระดับราคาที่ถูกปฏิเสธสินเชื่อน้อยที่สุดด้วย
ในขณะที่การเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑลในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 โดยทำเลที่มีการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท สูงสุด 3 ทำเลแรกได้แก่
- รังสิต-นครนายก
- ประชาอุทิศ-พุทธบูชา
- นวนคร
โดยมีราคาขายเฉลี่ยไม่เกิน 5 ล้านบาท
และการเปิดตัวอาคารชัดพักอาศัย ทำเลที่มีการเปิดตัวมากที่สุด 3 ทำเลได้แก่
- ทำเลบางขันใกล้มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ
- รัชดา-ห้วยขวาง
- พัฒนาการ
โดยราคาขายที่ได้รับความสนใจเป็นอาคารชุดที่ระดับราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท ที่ผู้ซื้อมีทั้งซื้อเพื่ออยู่อาศัยและเพื่อการลงทุน
นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการฯ ระบุว่า ปัจจัยที่ทำให้แนวโน้มภาคอสังหาฯ ชะลอตัวในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจาก
- การเติบโตกระจุกอยู่ในภาคธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว
- การส่งออกติดลบช่วงครึ่งปีแรก
- หนี้ครัวเรือนสูงขึ้นระดับ 90.6%
- อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง
- การยกเลิกมาตรการผ่อนคลายอัตราส่วนการอนุมัติสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน(Loan-to-Value: LTV)
- ความไม่แน่นอนทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง